ค้นหาที่เที่ยวในบล็อกนี้

08 กรกฎาคม 2561

เที่ยว 2 ประเทศ อิสราเอล-จอร์แดน (3) Garden Tomb - กำแพงร้องไห้ - สถาบันพระวิหาร - สุสานดาวิด - ห้องชั้นบน - บ้านคายาฟาส - เบธเลเฮม

วันที่สามของการโปรแกรม เราอยู่ที่เยรูซาเล็ม โปรแกรมวันนี้จึงเป็นโปรแกรมเดินทั้งวัน ซึ่งตอนแรกก็ไม่รู้ว่าต้องเดินตลอด และอยู่ในช่วงเดือนรอมฎอนด้วย มีการปิดถนนในเยรูซาเล็ม โปรแกรมที่ถูกยกเลิกก็คือ การเข้าเยี่ยมชมโดมศิลา และสุดท้ายก็อดไปเกทเสมนีด้วย


สถานที่แห่งแรกที่เราเยี่ยมชมในวันนี้คือ Garden Tomb สถานที่เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังพระศพของพระเยซู เพราะมีเนินหัวกะโหลกอยู่บริเวณนั้น

การ์เด้นทูม (อุโมงค์ฝังพระศพ)
          ตั้งอยู่นอกเขตเมืองเก่าเยรูซาเล็ม เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังพระศพของพระเยซู และที่ใกล้เคียงมีเนินหัวกะโหลก (กลโกธา)  และยังมีอีกสถานที่แห่งหนึ่งที่ชาวคาทอลิกนิยมไปก็คือ Via dolorosa เพราะเชื่อกันว่าพระเยซูรับไม้กางเขนและแบกไปตามจุดต่างๆ ถึง 14 แห่ง และถูกฝังไว้ในอุโมงค์ที่โบสถ์ Church of the Holy Sepulchre ในเขตเมืองเก่ากลางเยรูซาเล็ม (ซึ่งไม่ตรงตามพระคัมภีร์)
         ที่นั่นเคยเป็นอุโมงค์​ใหม่ ​อุโมงค์​บาง​แห่ง​จะ​กว้างขวาง​ฝัง​ศพ​ของ​คน​มั่ง​มี ​มี​หลาย​ห้อง​และ​ใช้​บรรจุ​ศพ​ได้ ​แต่​อุโมงค์​ของ​โย​เซฟ​นี้​ไม่​เคย​ถูก​ใช้​ฝัง​ศพ​ใคร​มา​ก่อน ​(​ลก. ​23:53​)









จากนั้นเราก็เดินกันผ่านเขตเมืองเก่าของเยรูซาเล็ม เพื่อไปชมกำแพงร้องไห้ ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของเมือง







ระหว่างทางก็เดินผ่าน Hurva Synagoge ซึ่งเป็นธรรมศาลาของชาวยิวที่เคยมีการพยากรณ์เอาไว้ว่า เมื่อที่นี่ได้ถูกซ่อมสร้างถึง 3 ครั้ง ก็จะมีการสร้างพระวิหารหลังที่สาม ในลำดับต่อมา ซึ่งก็ผ่านมาแล้ว 8 ปี



ในที่สุดเราก็เดินเท้าเข้าสู่กำแพงร้องไห้





มีห้องสำหรับอธิษฐานติดกำแพงในฝั่งผู้ชาย พร้อมมีพระคัมภีร์ให้อ่านด้วย



ที่กำแพงร้องไห้ มีสองฝั่ง แบ่งให้ผู้ชายเข้าด้านซ้าย-ผู้หญิงเข้าด้านขวา เลียนแบบธรรมเนียมดั่งเดิมสมัยยังคงมีพระวิหาร ที่แตกต่างจากธรรมเนียมศาสนาอื่นๆ ก็คือ ชาวยิวจะขอให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสวมหมวกเพื่อเป็นการให้เกียรติสถานที่ ส่วนถ้าไปโบสถ์คาทอลิกในอิสราเอล นักท่องเที่ยวต้องถอดหมวกครับ

สถานที่ต่อมาคือ สถาบันพระวิหาร Temple Institute เป็นที่ตระเตรียมอุปกรณ์สำหรับพระวิหารหลังที่สาม ซึ่งย้ายมาจากทืี่เดิมที่ผมเคยไปมาเมื่อปี 2009 โดยแบ่งเป็นห้องบรรยาย 3 ห้อง และห้องจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

สถาบันพระวิหาร 
เป็นองค์กรของศาสนายิว ได้ประกาศเปิดขึ้นตั้งแต่ปี 1987 เป็นโรงเรียนฝึกอบรม "เลวี"  ซึ่งหมายถึงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของวิหารในเยรูซาเล็ม ที่ต้องรู้เรื่องพิธีกรรมในศาสนายิวเป็นอย่างดี
          สถาบันดังกล่าวจะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในพระวิหารหลังที่สาม ซึ่งนักวิชาการยุคสุดท้ายเชื่อว่ากำลังจะสร้างขึ้นก่อนช่วงกลียุค ตามคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล (วิวรณ์ บทที่ 11)
          ปัจจุบันมีการประดิษฐ์ คันประทีปทองคำ (เมโนราห์) อุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงการโคลนนิ่งวัวแดงที่ใช้สำหรับเป็นสัตวบูชาอีกด้วย





ช่วงกลางวัน เราเดินไปทานอาหารกลางวันที่เขตอาร์มาเนียน




จากนั้นเราก็เดินกันอีกรอบออกมานอกเขตกำแพงเมืองเก่า สู่สถานที่ที่เป็นสุสานของกษัตริย์ดาวิด กษัตริย์องค์ที่สองของอิสราเอล


และไปสู่ห้องชั้นบน เป็นบ้าน​ของ​มา​รีย์​มาร​ดา​ของ​ยอห์น​ผู้​มี​อีก​ชื่อ​หนึ่ง​ว่า​มา​ระ​โก ​​คริสตชน​สมัย​แรก​ประชุม​กัน​ตาม​บ้าน ​เปโตร​ไป​บ้าน​ที่​ประชุม​กัน​เป็น​ประจำ และมีห้อง​ชั้น​บน น่าจะ​เป็น​ห้อง​ที่​พระ​เยซู​
และ​สาวก​ใช้​รับประทาน​ปัสกา​ครั้ง​สุดท้าย (ลก. 22:12) ซึ่งเป็น​ห้อง​ที่​เขา​สร้าง​บน​ดาดฟ้า​คล้าย​กับ​บ้าน ​2 ชั้น​ใน​ปัจจุบัน และเป็นที่สาวกรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กจ.2:1-4)


เมื่อเสร็จสิ้นการเยี่ยมชมห้องชั้นบน เราก็เดินไปต่อที่ บ้านคายาฟาส หรืออีกชื่อหนึึ่งว่า St. Peter in Gallicantu

บ้านของคายาฟาส
ที่นี่เดิมเป็นบ้านของมหาปุโรหิต คายาฟาส ปัจจุบันมีชื่อว่า St.Peter in Gallicantu คำว่า “Gallicantu” ในภาษาลาติน หมายถึงเสียงไก่ขัน (บ้านเราภาษาไทยออกเสียงว่า “เอก อี้เอ้ก เอ้ก”)  คายาฟาส เป็นมหาปุโรหิตประจำการมีอีกชื่อหนึ่งว่าโยเซฟ เป็นลูกเขยของอันนาส (ยน. 18:13) ถูกเลือกเป็นมหาปุโรหิตในปี ค.ศ. 18 และถูกขับไล่ในปี ค.ศ. 36 เป็นปีเดียวกับที่ปีลาตถูกปลดตามประเพณี มหาปุโรหิตจะอยู่ในตำแหน่งตลอดชีพ แต่ในสมัยของพระคัมภีร์ใหม่นี้ การรับหน้าที่มหาปุโรหิตย่อมขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ครอบครองของโรมันเท่านั้น  เขายังเป็นผู้ข่มเหงคริสตจักรในยุคเริ่มแรก และทั้งสองพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน คายาฟาสเข้ากับปีลาตผู้เป็นเจ้าเมืองในสมัยนั้นได้ดี
          เปโตร ชื่อเดิมคือ “ซีโมน” แต่เปลี่ยนเป็น “เคฟาส” (ภาษาอาราเมค) หรือ   “เปโตร” (ภาษากรีก)  ได้ปฏิเสธพระเยซู 3 ครั้ง ณ ที่แห่งนี้
          เปโตรเป็นชาวเมืองเบธไซดา บุตรชายของยอห์น และเป็นพี่ชายของอันดรูว์ เป็นชาวประมงและอาศัยอยู่ในเมืองคาเปอร์นาอุม เขาอยู่ในเหตุการณ์การจำแลงพระกาย และสวนเกทเสมนี ต่อมาได้เป็นอัครทูตคนแรกที่เทศนาพระกิตติคุณ ทำการอัศจรรย์ พูดต่อหน้าสภาแซนเฮดดริน เทศนาแก่ชาวต่างชาติ  ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพ   ถูกตรึงกางเขนกลับหัวที่กรุงโรมในปี ค.ศ.67








และสถานที่สุดท้ายของโปรแกรมวันนี้ก็คือเมืองเบธเลเฮม และโบสถ์ Church of Nativity ที่มี 3 นิกายอยู่รวมกันอย่างเหลือเชืิ่อ










เรานอนที่เบธเลเฮม และผมก็ได้เก็บภาพยามเย็น และยามเช้าของเบธเลเฮมจากระเบียงห้องนอนอีก ดีจังที่ได้ห้องที่มีมุมสวยๆ ทุกครั้ง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น