ค้นหาที่เที่ยวในบล็อกนี้

28 กุมภาพันธ์ 2559

เก็บภาพทุ่งดอกหญ้า@เสนานิเวศน์ 2

แทบไม่เชื่อว่าแต่ดอกหญ้าริมทางเกษตร-นวมินทร์ จะมีคนให้ความสนใจมากขนาดนี้ เชิญรับชมบรรยากาศได้เลยครับ

อยู่ในซอยเสนานิเวศน์ ซอย 200 ด้านหลัง "นวมินทร์ซิตี้ อเวนิว"






25 กุมภาพันธ์ 2559

เยือนถิ่นเก่า กฎีจีน (กะดีจีน)


กฎีจีน หรือ กะดีจีน เป็นชุมชนเก่าแก่ของพ่อค้าชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตั้งอยู่ริมคลองวัดกัลยาณ์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และกลุ่มคนหลายเชื้อชาติทั้งชาวไทย จีน ฝรั่ง ญวน มอญ ฯลฯ ที่อพยพจากกรุงเก่ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ตามบันทึกประวัติศาลเจ้าเกียนอันเกง บันทึกว่ากุฎีจีนสร้างในสมัยกรุงธนบุรีโดยชาวจีนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสิน เดิมมี 2 ศาล คือ ศาลเจ้าโจวซือกง และศาลเจ้ากวนอู

ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 1 ย้ายพระนครไปกรุงเทพ คนจีนเหล่านี้จึงอพยพไปรวมกับพวกที่ย่านตลาดน้อยและสำเพ็ง ศาลเจ้าจึงถูกทิ้งร้าง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงได้บูรณะรวมกันเป็นศาลเดียวกันแล้วอัญเชิญเจ้าแม่กวนกิมมาประดิษฐานให้ชื่อว่า ศาลเจ้าเกียนอันเกง ศาลเจ้านี้จึงเป็นร่องรอยของชุมชนในย่านกุฎีจีน


เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ในครั้งนั้น ชาวคริสตังในกรุงศรีอยุธยาต่างหนีกระจัดกระจายไปในที่ต่าง ๆ จนกระทั่งพระยาตากสินกู้อิสรภาพจากพม่าได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2311 และได้ทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) รวมทั้งได้ทำการก่อร่างสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่กรุงธนบุรี หรือ บางกอก ซึ่งเป็นชื่อเรียกของชาวต่างชาติในสมัยนั้น


จนในปี พ.ศ. 2312 คุณพ่อกอรร์ (Corre) บาทหลวงชาวฝรั่งเศสซึ่งพาพวกเข้ารีตลี้ภัยไปที่เขมรได้เดินทางมายังบางกอกพร้อมชาวคริสตัง และชาวโปรตุเกสจำนวนหนึ่ง เพื่อหวังพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระองค์ ด้วยพระเมตตาที่ทรงมีต่อคุณพ่อกอร์และชาวบ้านทั้งปวง พระองค์ได้พระราชทานเงิน 20 เหรียญ (กษาปณ์) และเรือลำหนึ่ง รวมทั้งสัญญาว่าจะพระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวัดคาทอลิกให้

ในปีเดียวกัน คุณพ่อกอรร์และชาวบ้านที่มีทั้งคนญวนและคนไทยที่อพยพมาด้วยกันจึงได้ชักชวนคริสตังที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในบางกอกได้จำนวนราว 400 คน และได้เข้าเฝ้าขอพระราชทานที่ดินจากสมเด็จพระเจ้าตากสินตามสัญญา ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งให้บริเวณริมน้ำเจ้าพระยา โดยตั้งชื่อที่ดินนี้ว่า "ค่ายซางตาครู้ส" จากนั้นคุณพ่อกอรร์และคริสตังได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น และเรียกว่า วัดซางตาครู้ส ซึ่งโบสถ์แห่งนี้นับเป็นโบสถ์คาทอลิก แห่งที่ 2 ในประเทศไทย

จากวันเวลาที่ผันผ่านทำให้วัดชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จึงต้องมีการบูรณะวัดขึ้นมาใหม่อีกถึง 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2456 บาทหลวงกูเลียล โมกิ๊น ดาครูส ได้สร้างโบสถ์ขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียนสมัยเรเนสซองส์ ที่เรียกว่า แบบนีโอคลาสสิก อย่างที่เห็นในปัจจุบัน


วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร หรือ "วัดกัลยา" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้


ประวัติ
เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า "หมู่บ้านกุฎีจีน" สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2368 และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมือง อย่างเช่นวัดพนัญเชิง

หลวงพ่อโต เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 5 วา 3 ศอกคืบ สูง 7 วา 2 ศอกคืบ 10 นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ

พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระราชทาน เป็น 1 ใน 2 วัด ของกรุงเทพมหานครที่มีพระประธานของพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ อีกแห่งคืออุโบสถวัดบางขุนเทียนใน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงพุทธประวัติ และแสดงชีวิตชาวบ้านในสมัยรัชกาลที่ 3 และยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ 4

หน้าวิหารหลวงเป็นหอระฆังที่เพิ่งสร้างใหม่ เก็บระฆังยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดของไทย

08 กุมภาพันธ์ 2559

การค้นหาตัวเลข GPS ใน Google Map

มีคนสอบถามเรื่องการค้นหา GPS จากมือถือ smart phone มาสู่คอมพิวเตอร์ desk top ดูวิธีตามภาพได้เลยครับ


ไม่ว่าเราจะหมุดสถานที่ในมือถือของเราที่ไหน มันก็จะปรากฏในคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน เพียงเชื่อมต่อผ่าน Gmail ของเรา
1. คลิกเปิดโปรแกรม Google Map
2. คลิกเลือกสถานที่ที่เราต้องการ
3. คลิกเมาส์ปุ่มขวาเพื่อเลือก และไปคลิกเลือกบรรทัดที่สาม "ที่นี่มีอะไร"
4. โปรแกรมจะแสดงตัวเลขของพิดัด GPS สถานที่นั้น
5. ตัวเลขพิกัดจะแสดงขึ้นมาในกรอบด้านซ้ายของจอ
6. ใช้เมาส์เลือกข้อความนั้น เพื่อ copy มาใช้
7. นำตัวเลข แชร์ให้เพื่อน หรือนำมาใช้ในโปรแกรมแผนที่อื่นๆ ได้เลย

07 กุมภาพันธ์ 2559

จังหวัดที่แอดมินยังไม่เคยแวะเที่ยวในประเทศไทย

แอดมินพอมีเวลามาดูสถานที่ที่ไปแล้วทั่วประเทศ ก็ไปมาเกือบครบทุกจังหวัด เหลือไม่กี่จังหวัดทีี่ยังไม่เคยแวะไปเลยสักครั้ง

ที่ไม่เคยไปเลยสักครั้ง
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  • นราธิวาส
จุดที่แอดมินเคยไปแวะเที่ยวมาแล้วทั่วประเทศ